- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 กันยายน-3 ตุลาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ใช้สิทธิได้ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,438 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,469 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,797 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,784 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,550 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,875 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,234 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,360 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 485 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,899 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,777 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,867 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.3497
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-autumn crop) สิ้นสุดลง ประกอบกับวงการค้าคาดว่า ผู้ซื้อข้าวจากต่างประเทศจะหันมาให้ความสนใจข้าวเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากราคาข้าวไทยยังคงอยู่ในระดับสูง โดยราคาข้าวขาว 5% ปรับขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 335 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า โดยก่อนหน้านี้ ราคาข้าวอ่อนตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ท่ามกลางภาวะการค้าที่ซบเซา เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลงโดยเฉพาะตลาดหลัก เช่น ฟิลิปปินส์ และจีน
ขณะที่วงการค้าระบุว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1-9 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะมีการขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือบรรทุกสินค้าประมาณ 37,100 ตัน เพื่อส่งไปยังประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก และมาเลเซีย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
รัฐบาลเมียนมาร์กำลังวางแผนที่จะส่งออกข้าวเปลือก หากราคาข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวในเดือนหน้าลดต่ำลง กว่าระดับราคาที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ และช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้มากขึ้น
ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ถ้าราคาข้าวลดลงจะมีการอนุญาตให้ส่งออกข้าวเปลือกได้ในปริมาณที่รัฐบาลจะจำกัดจำนวนไว้ ซึ่งเมื่อปี 2561 รัฐบาลได้กำหนดราคาข้าวเปลือกไว้ที่ 500,000 จ๊าตต่อ 100 ตะกร้า หรือประมาณ 327 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1 ตะกร้าเท่ากับประมาณ 20.86 กิโลกรัม) หรือประมาณ 155 ดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สมัชชาแห่งสหภาพ สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ และตัวแทนเกษตรกร กำลังมีการหารือแนวทางในการกำหนดราคาดังกล่าว
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ลาว
มีรายงานว่าในช่วงปี 2561 ประเทศลาวมีผลผลิตข้าวลดลงถึงร้อยละ 18 ส่งผลให้ในปี 2561 และในปี 2562 (6 เดือนแรก) ที่ผ่านมา การเพาะปลูกข้าวในลาวมีอัตราการเติบโตอย่างช้าๆ โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้เพียง 66,700 ตัน
ทั้งนี้ ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจเพาะปลูกหลักของลาว โดยพื้นที่ทำการเกษตรกว่าร้อยละ 60 เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่จะอยู่ด้านริมแม่น้ำโขง ได้แก่ เวียงจันทน์ คำม่วน บอลิคำไซ สะหวันนะเขต สาละวัน และจำปาสัก ทั้งนี้ ผลผลิตส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นข้าวเหนียว นอกนั้นเป็นข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ โดยผลผลิตข้าวในปี 2561 และปี 2562 (ในช่วง 6 เดือนแรก) ของลาวลดลง เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วม
นายบุญทอง พรมจันทร์ ผู้อำนวยการกรมการเกษตรและป่าไม้เวียงจันทน์เผยว่า ผลผลิตข้าวในปีนี้จะเติบโตประมาณร้อยละ 20.8 ทั้งนี้ สภาพอากาศที่แปรปรวน โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนที่ลดลงส่งผลกระทบทำให้ได้ต้นกล้า เพียงร้อยละ 40 ที่สามารถนำไปเพาะปลูกได้ โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่าปริมาณน้ำฝนที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อชาวนาและ ความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวที่ลดลง ส่งผลต่อราคาและค่าครองชีพในเวียงจันทน์ที่สูงขึ้น รวมทั้งมีผลต่อการนำเข้าข้าว
ที่มากขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 0.21 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวมีแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาว โดยจะจัดทำแผนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสนับสนุนการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ใช้สิทธิได้ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,438 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,469 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,797 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,784 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,550 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,875 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,234 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,360 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 485 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,899 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,777 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,867 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.3497
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-autumn crop) สิ้นสุดลง ประกอบกับวงการค้าคาดว่า ผู้ซื้อข้าวจากต่างประเทศจะหันมาให้ความสนใจข้าวเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากราคาข้าวไทยยังคงอยู่ในระดับสูง โดยราคาข้าวขาว 5% ปรับขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 335 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า โดยก่อนหน้านี้ ราคาข้าวอ่อนตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ท่ามกลางภาวะการค้าที่ซบเซา เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลงโดยเฉพาะตลาดหลัก เช่น ฟิลิปปินส์ และจีน
ขณะที่วงการค้าระบุว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1-9 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะมีการขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือบรรทุกสินค้าประมาณ 37,100 ตัน เพื่อส่งไปยังประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก และมาเลเซีย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
รัฐบาลเมียนมาร์กำลังวางแผนที่จะส่งออกข้าวเปลือก หากราคาข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวในเดือนหน้าลดต่ำลง กว่าระดับราคาที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ และช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้มากขึ้น
ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ถ้าราคาข้าวลดลงจะมีการอนุญาตให้ส่งออกข้าวเปลือกได้ในปริมาณที่รัฐบาลจะจำกัดจำนวนไว้ ซึ่งเมื่อปี 2561 รัฐบาลได้กำหนดราคาข้าวเปลือกไว้ที่ 500,000 จ๊าตต่อ 100 ตะกร้า หรือประมาณ 327 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1 ตะกร้าเท่ากับประมาณ 20.86 กิโลกรัม) หรือประมาณ 155 ดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สมัชชาแห่งสหภาพ สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ และตัวแทนเกษตรกร กำลังมีการหารือแนวทางในการกำหนดราคาดังกล่าว
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ลาว
มีรายงานว่าในช่วงปี 2561 ประเทศลาวมีผลผลิตข้าวลดลงถึงร้อยละ 18 ส่งผลให้ในปี 2561 และในปี 2562 (6 เดือนแรก) ที่ผ่านมา การเพาะปลูกข้าวในลาวมีอัตราการเติบโตอย่างช้าๆ โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้เพียง 66,700 ตัน
ทั้งนี้ ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจเพาะปลูกหลักของลาว โดยพื้นที่ทำการเกษตรกว่าร้อยละ 60 เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่จะอยู่ด้านริมแม่น้ำโขง ได้แก่ เวียงจันทน์ คำม่วน บอลิคำไซ สะหวันนะเขต สาละวัน และจำปาสัก ทั้งนี้ ผลผลิตส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นข้าวเหนียว นอกนั้นเป็นข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ โดยผลผลิตข้าวในปี 2561 และปี 2562 (ในช่วง 6 เดือนแรก) ของลาวลดลง เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วม
นายบุญทอง พรมจันทร์ ผู้อำนวยการกรมการเกษตรและป่าไม้เวียงจันทน์เผยว่า ผลผลิตข้าวในปีนี้จะเติบโตประมาณร้อยละ 20.8 ทั้งนี้ สภาพอากาศที่แปรปรวน โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนที่ลดลงส่งผลกระทบทำให้ได้ต้นกล้า เพียงร้อยละ 40 ที่สามารถนำไปเพาะปลูกได้ โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่าปริมาณน้ำฝนที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อชาวนาและ ความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวที่ลดลง ส่งผลต่อราคาและค่าครองชีพในเวียงจันทน์ที่สูงขึ้น รวมทั้งมีผลต่อการนำเข้าข้าว
ที่มากขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 0.21 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวมีแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาว โดยจะจัดทำแผนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสนับสนุนการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.33 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 289.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,771 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 298.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,022 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.02 และลดลง ในรูปของเงินบาทตันละ 251 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 385.60 เซนต์ (4,674 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 373.00 เซนต์ (4,509 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.38 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 165 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.56 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 5.54 และร้อยละ 0.85 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.79 ล้านตัน (ร้อยละ 2.54 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.06 ล้านตัน (ร้อยละ 66.60 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.63 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.56 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.49
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.67 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.50
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.45 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.52 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.07
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,071 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,054 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,809 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,775 บาทต่อตัน)
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.56 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 5.54 และร้อยละ 0.85 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.79 ล้านตัน (ร้อยละ 2.54 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.06 ล้านตัน (ร้อยละ 66.60 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.63 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.56 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.49
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.67 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.50
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.45 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.52 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.07
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,071 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,054 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,809 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,775 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.225 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.221 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.151 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.207 ล้านตัน ของเดือนสิงหาคม คิดเป็นร้อยละ 6.43 และร้อยละ 6.76 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.59 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.67 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.75 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 15.95 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.02
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ไฟป่าอินโดนีเซียส่งผลถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ไฟป่าที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย ทำให้ทั่วโลกออกมากล่าวถึงการตัดไม้ทำลายป่าหรือเผาป่าเพื่อทำการเกษตรของชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ซื้อขายปาล์มน้ำมันได้โดนตรวจสอบแหล่งที่มาของปาล์มน้ำมัน หลายบริษัทได้ออกมาประกาศว่าจะไม่รับซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรที่มาจากแหล่งที่ตรวจสอบไม่ได้ แหล่งปลูกที่ผิดกฎหมาย และแหล่งที่รุกรานป่าไม้หรือรุกรานที่อยู่สัตว์
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,089.32 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.49 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,103.32 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.67
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 523.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 547.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.36
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานการส่งออกน้ำตาลของบราซิล
กระทรวงการค้าบราซิล รายงานว่าในเดือนกันยายน 2562 บราซิลส่งออกน้ำตาลจำนวน 1,733,448 ตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายดิบ) ลดลงจาก 2,546,882 ตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 31.94 แต่เพิ่มขึ้นจาก 1,677,794 ตัน ในเดือนสิงหาคม ร้อยละ 3.32 การส่งออกน้ำตาลทรายดิบลดลงเหลือ 1,554,307 ตัน จาก 2,248,353 ตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.87 และเพิ่มขึ้นจาก 1,508,535 ตัน ในเดือนสิงหาคม ร้อยละ 3.03 ขณะที่การส่งออกน้ำตาลทรายขาวมีจำนวน 164,809 ตัน ลดลงจาก 274,646 ตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 39.99 และเพิ่มขึ้นจาก 155,720 ตัน ในเดือนสิงหาคม ร้อยละ 5.84
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานการส่งออกน้ำตาลของบราซิล
กระทรวงการค้าบราซิล รายงานว่าในเดือนกันยายน 2562 บราซิลส่งออกน้ำตาลจำนวน 1,733,448 ตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายดิบ) ลดลงจาก 2,546,882 ตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 31.94 แต่เพิ่มขึ้นจาก 1,677,794 ตัน ในเดือนสิงหาคม ร้อยละ 3.32 การส่งออกน้ำตาลทรายดิบลดลงเหลือ 1,554,307 ตัน จาก 2,248,353 ตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.87 และเพิ่มขึ้นจาก 1,508,535 ตัน ในเดือนสิงหาคม ร้อยละ 3.03 ขณะที่การส่งออกน้ำตาลทรายขาวมีจำนวน 164,809 ตัน ลดลงจาก 274,646 ตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 39.99 และเพิ่มขึ้นจาก 155,720 ตัน ในเดือนสิงหาคม ร้อยละ 5.84
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัม 13.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อของจีนที่เพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ณ ตลาดชิคาโก สูงขึ้นร้อยละ 5.7 จากวันที่ 6 กันยายน 62 เป็น 9.12 ดอลลาร์/บุชเชล ในวันที่ 3 ตุลาคม 62 โดยในอาทิตย์ที่ผ่านมาจีนได้ซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาไปมากกว่า 1.5 ล้านตัน และในอาทิตย์นี้ได้ซื้อไปมากกว่า 0.716 ล้านตัน อีกทั้งเมื่อรวมกับสภาพอากาศที่เย็นและชื้น เป็นผลทำให้ราคาถั่วเหลืองสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการซื้อของจีนในครั้งนี้ ถูกมองว่าไม่ใช่การซื้อตามความต้องการใช้ของจีน แต่เป็นการกลยุทธ์อย่างหนึ่งก่อนที่จะมีการเจรจาการค้าระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกาในวันที่ 10 ตุลาคม 62
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 906.72 เซนต์ (10.26 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 889.36 เซนต์ (10.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 293.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.58
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.06 เซนต์ (19.72 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.14 เซนต์ (19.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัม 13.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อของจีนที่เพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ณ ตลาดชิคาโก สูงขึ้นร้อยละ 5.7 จากวันที่ 6 กันยายน 62 เป็น 9.12 ดอลลาร์/บุชเชล ในวันที่ 3 ตุลาคม 62 โดยในอาทิตย์ที่ผ่านมาจีนได้ซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาไปมากกว่า 1.5 ล้านตัน และในอาทิตย์นี้ได้ซื้อไปมากกว่า 0.716 ล้านตัน อีกทั้งเมื่อรวมกับสภาพอากาศที่เย็นและชื้น เป็นผลทำให้ราคาถั่วเหลืองสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการซื้อของจีนในครั้งนี้ ถูกมองว่าไม่ใช่การซื้อตามความต้องการใช้ของจีน แต่เป็นการกลยุทธ์อย่างหนึ่งก่อนที่จะมีการเจรจาการค้าระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกาในวันที่ 10 ตุลาคม 62
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 906.72 เซนต์ (10.26 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 889.36 เซนต์ (10.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 293.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.58
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.06 เซนต์ (19.72 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.14 เซนต์ (19.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.17 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 35.85
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.60 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.22
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.20 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 15.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.00
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,020.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,022.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 921.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 922.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 940.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.55 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 922.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.62 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 563.40 ดอลลาร์สหรัฐ (17.10 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 524.40 ดอลลาร์สหรัฐ (15.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.22 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,080.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,082.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.17 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 35.85
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.60 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.22
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.20 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 15.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.00
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,020.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,022.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 921.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 922.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 940.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.55 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 922.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.62 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 563.40 ดอลลาร์สหรัฐ (17.10 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 524.40 ดอลลาร์สหรัฐ (15.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.22 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,080.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,082.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 1.64
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 4.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 1.64
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 4.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 61.13 (กิโลกรัมละ 41.49 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 60.02 (กิโลกรัมละ 40.62 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.87 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 61.13 (กิโลกรัมละ 41.49 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 60.02 (กิโลกรัมละ 40.62 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.87 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,773 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,778 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,395 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,394 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.07
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 846 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 829 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.05
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ ทำให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างเงียบเหงาไม่ค่อยคึกคัก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 62.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.39 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.87 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.93 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 (บวกลบ 54 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 58 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.54
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ ทำให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างเงียบเหงาไม่ค่อยคึกคัก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 62.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.39 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.87 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.93 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 (บวกลบ 54 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 58 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.54
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้ตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียนคาดว่าความต้องการบริโภคจะมีไม่มากนัก แต่เนื่องจากไข่ไก่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ราคาไม่แพง ผู้บริโภคสามารถหาซื้อและบริโภคได้ง่าย ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 291 บาท สูงขึ้นร้อยฟองละ 289 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.69 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 292 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้ตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียนคาดว่าความต้องการบริโภคจะมีไม่มากนัก แต่เนื่องจากไข่ไก่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ราคาไม่แพง ผู้บริโภคสามารถหาซื้อและบริโภคได้ง่าย ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 291 บาท สูงขึ้นร้อยฟองละ 289 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.69 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 292 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 312 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 312 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.64 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.64 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.55 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.56 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.55 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.56 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 3 ตุลาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ สะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.79 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.78 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.41 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 142.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.97 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 3 ตุลาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ สะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.79 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.78 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.41 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 142.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.97 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา